- TOP
- ปรับแต่งรายการผลการค้นหา
- สัมผัส พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยศตวรรษที่ 21 ได้แล้ววันนี้
บทความ
สัมผัส พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยศตวรรษที่ 21 ได้แล้ววันนี้
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยศตวรรษที่ 21 มีชื่อเสียงโด่งดังจากสวนสาธารณะโคโระคุเอ็น เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีชื่อเสียงมาก ตึกและอาคารต่างๆล้วนแต่ถูกสร้างมากจากบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น การเดินทางก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่คุณเดินทางด้วยชินกังเซ็นจากโตเกียวแล้วมาลงที่โชเกียวโต (小京都) เมืองคานาซาวะ คุณก็ได้พบกับพิพิธภัณฑ์ที่ดูโดดเด่น มีความสวยงามเฉพาะตัว
พิพิธภัณฑ์ที่เหมือนสวนสาธารณะ
มองดูด้านนอกของพิพิธภัณฑ์จะเห็นได้ว่า ตึกมีลักษะเป็นวงกลมหรือที่เรียกกันเล่นๆว่า "มารุพิ" ทว่าเมื่อเรามองจากที่สูงลงไปแล้วจะเห็นได้ว่า บริเวณตรงกลางจะมีสี่เหลี่ยมจำนวนมากวางเรียงรายอยู่ ทั้งๆที่ตัวตึกมีลักษณะเป็นวงกลมแต่ภายในอาคาร มักจะเห็นห้องเป็นเหลี่ยมๆเยอะมาก ใครๆที่มาเยี่ยมชมที่นี่ต่างก็ประหลาดใจกันไม่น้อย
ตัวพิพิธภัณฑ์จะมีกำแพงกระจกโค้งอยู่โดยรอบ เพื่อให้คนข้างในสามารถเห็นบรรยากาศภายนอกได้ และเจ้ากำแพงกระจกนี้ถูกติดตั้งทุก 4 ประตูทางออก ทั้งทิศเหนือ ใต้ ตะวันออกและตะวันตก ไม่ว่าจะเดินมาจากทางไหนก็สามารถแวะชมบรรยากาศโดยรอบได้ โดยอิงคอนเซ็ปต์ที่ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เหมือนกับสวนสาธารณะที่ถูกเปิดออก กำแพงกระจก วิวภายนอก สนามหญ้าและการสัมผัสงานศิลปะได้อย่างลึกซึ้ง
สนุกสุดคุ้มแบบไม่ต้องเสียค่าเข้าชม
ที่มาของพิพิธภัณฑ์ศิลปะศตวรรษที่ 21 แห่งนี้ ไม่ได้ให้บริการฟรีให้ทุกพื้นที่ แต่แน่นอนว่าพื้นที่ที่เก็บค่าบริการมีไม่ถึงครึ่งของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่จัดให้เข้าชมงานศิลปะที่มีชื่อนั้นก็ถูกจัดอยู่ในโซนที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับงานศิลปะได้อย่างสบายใจ
★Klangfeld Nr. 3 für Alina(Florian Claar, 2004)
ชิ้นงานศิลปะมากมาย จะถูกจัดแสดงอยู่บริเวณสนามหญ้าด้านนอกกระจก เช่น ชิ้นงานรูปทรัมเป็ต ซึ่งมีชิ้นงานแนวนี้อยู่ทั้งหมด 12 ชิ้นด้วยกัน วางกันอยู่เป็นคู่ๆและเชื่อมต่อกันอยู่ใต้ดิน คุณสามารถพูดกับทรัมเป็ตได้ แล้วเดินไปฟังเสียงที่ทรัมเป็ตอีกชิ้นที่ตั้งห่างออกไปได้ด้วย ลองพูดและฟังเสียงตัวเองดูก็น่าสนุกเชียวนะคะ
★MARU(Kazuyo Sejima+Ryue Nishizawa/SANAA, 2016)
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกออกแบบมาจาก SANAA ที่ก่อตั้งโดยนักสถาปนิกที่มีชื่อเสียง 2 คนคือคุณ เซจิมะ คะสุโยและคุณ นิชิสะวะ ลิวเอะ โดยออกแบบมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2016 พื้นที่และบรรยากาศโดยมีชิ้นงานศิลปะถูกจัดแสดงอยู่อย่างมีเอกลักษณ์
เมื่อมองเข้าในไปชิ้นงานแล้วเราจะเห็นรูปร่างที่ผิดแปลกออกไป
★People's Gallery 09.10.2004-21.03.05(Michael LIN, 2004)
จิตรกรรมฝาหนังที่มีพื้นที่ยาวกว่า 27 เมตร ลักษณะสำคัญของ KAGAYUZEN ศิลปะด้านวัฒนธรรม ผู้วาดรูปนี้คือ Michael LIN เขาได้แรงบันดาลใจมากจากลวดลาย KAGAYUZENและแต่งเติมสีสันเพิ่มเติมเข้าไปตามจินตนาการของเขา ลักษณะภาพเป็นโลกที่ดูสดใส ยิ่งตอนที่แสงแดดตกกระทบมายังภาพวาดแล้ว เหมือนกำลังเห็นดอกไม้มีชีวิตอยู่เลย
ด้านหลังเก้าอี้ที่ออกแบบโดย SANAA เป็นรูปดอกไม้บานสดใส
★The Man Who Measures the Clouds(Jan FABRE, 1998)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าแล้วจากมุมเก้าอี้สดใสในแกลอรี่นี้ จะเห็นชิ้นงานสีทองบนด้านบนตึกฝั่งตรงข้าม นักศิลปะจากรุงเบอร์ลิน Jan Fabre คือเจ้าของชิ้นงานรูปปั้นนี้ เขารับไอเดียนี้มาจากหนังอเมริกันเรื่อง Birdman of Alcatraz จนสร้างสรรค์ผลงานรูปปั้นผู้เชี่ยวชาญด้านนก ที่กำลังถูกขังอยู่ในกรงเดี่ยว พอหลายปีผ่านไปตัวละครเอกของเราก็กลายเป็น The Man Who Measures the Clouds ไปในท้ายที่สุด
★Green Bridge(Patrick BLANC, 2004)
ด้านล่างของรูปหล่อทองแดง จะถูกปกคลุมไปด้วยกระจกล้อรอบมากมาย เป็นแหล่งเพาะพืชพันธุ์หลากหลายชนิด มีเก้าอี้ที่เป็นชิ้นงานศิลปะอยู่ชิ้นหนึ่งด้วย มีนักพฤกษาศาสตร์มาร่วมออกแบบ เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปพืชชนิดต่างๆก็จะค่อยๆปรับตัวเปลี่ยนไปด้วย มีพืชมากกว่า 100 สายพันธุ์ แน่นอนว่าเราใช้ดอกไม้ใบหญ้าที่มีอยู่ภายในเมืองคานาซาวามาปลูกด้วย
ถ้าอยากเข้าชมใกล้ๆก็ต้องซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปชมในโซนนิทรรศการ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมได้รับความประทับใจที่แตกต่าง
★The Swimming Pool(Leandro ERLICH, 2004)
งานศิลปะที่โด่งดังมากที่สุดก็คือ The Swimming Pool ผลงานจากLeandro ERLICH ชาวอาร์เจนติน่า ชิ้นงานกระจกใส่ที่มีความลึก 10 ซม.โดยมีน้ำอยู่รอบๆ ใช้หลักการสะท้อนแสงเข้ามาประยุกต์ทำให้ผู้ที่มองอยู่ด้านบน เห็นว่าด้างล่างกำลังมีคนเดินอยู่ เป็นชิ้นงานที่มีโครงสร้างง่ายๆ แต่ผลออกมาคาดไม่ถึงเลยใช่ไหมเอ่ย

ด้านบนสระให้ชมโดยไม่เสียค่าเข้าบริการ แต่ถ้าจะลงไปด้านล่างนั้นจะรวมอยู่ในโซนที่ต้องซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปชม ถ้ามองจากด้านล่างแล้วจะเห็นด้านบนเป็นน้ำสะท้อนแสงสวยงาม งานศิลปะนี้จะสวยงามได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคุณแล้วละค่ะ

พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยคานาซาว่าศตวรรษที่ 21 เปิดให้บริการทุกวันศุกร์และเสาร์ จนถึงเวลา 20.00 น. ถ้าซื้อตั๋วเข้าชมในโซนสระว่ายน้ำแล้ว คุณจะได้เห็นน้ำเคลื่อนไหว สะท้อนแสงสวยงาม เป็นพื้นที่ที่จะทำให้คุณได้ปลดปล่อยความคิดให้โลดแล่นออกมา
ทั้งบริเวณที่เสียค่าใช้จ่ายและบริเวณที่ให้เข้าชมฟรี ล้วนมีชิ้นงานศิลปะที่น่าสนใจมากมาย คุณไม่ควรพลาดชมเลยแม้แต่ชิ้นเดียวนะ
นักชิมอาหารและนักสะสมต้องเช็คอินที่นี่ด่วนๆ
แน่นอนว่ามาพิพิธภัณฑ์ทั้งทีมันก็ต้องมีสินค้าแฮนด์เมดอยู่แล้ว ของที่ระลึกสุดพิเศษที่มีขายเฉพาะที่นี่มีให้เลือกมากมาย เหมาะแก่การซื้อกลับไปฝากคนที่บ้านมากๆ
ร้านอาหารตีมสีขาว จาน ถ้วยชาม ภาชนะสีขาว กับอาหารน่ารับประทานมากมาย ท่ามกลางบรรยากาศในพิพิธภัณฑ์ เมนูต่างๆนั้นทำมาจากวัตถุดิบท้องถิ่นในแถบคานาซาวะนี่เอง

สัมผัส"พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยศตวรรษที่ 21"ได้แล้ววันนี้
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยศตวรรษที่ 21 มีชื่อเสียงมากสำหรับคนญี่ปุ่น บริเวณโดยรอบก็มีสถานที่ท่องเที่ยวดังๆมากมาย เช่น โคโระคุเอ็น สวนปราสาทคานาซาวะ เป็นต้น ใครมีโอกาสมาคานาซาวะแล้วก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวที่นี่กันนะคะ
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยศตวรรษที่ 21
ที่อยู่: 1-2-1 Hirosaka, Kanazawa-shi, Ishikawa
เวลาทำการ:
โซนนิทรรศการ 10.00 - 18.00 น. (วันศุกร์และเสาร์ เปิดถึง 20.00 น.)
โซนแลกเปลี่ยน 9.00 - 22.00 น.
※เวลาเปิดปิดแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
วันหยุด:
โซนนิทรรศการ วันจันทร์และวันถัดไปหลังจากวันหยุดนักขัตฤกษ์, เทศกาลปีใหม่
โซนแลกเปลี่ยน เทศกาลปีใหม่ปลายเดือนธันวาคม ถึง ต้นเดือนมกราคม
※พื้นที่อื่นๆเปิดปิดเหมือนกับโซนนิทรรศการ
ค่าเข้าพิพิธภัณฑ์:
ค่าเข้าโซนนิทรรศการ ฟรี!
มีค่าเข้าชมบางที่ หลังจากเข้าโซนนิทรรศการไปแล้ว
※ติดตามรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์
การเดินทาง : ขึ้นรถบัสจากสถานีคานาซาวะ บัสเทอร์มินอล ฝั่งตะวันออกหมายเลข 3 และ 6 ไปลงที่ป้ายพิพิธภัณฑ์ได้เลย ชื่อป้ายว่า 広坂・21世紀美術館 ใช้เวลาประมาณ 10 นาที /หรือขึ้นบัสหมายถึง 8 - 10 ลงที่ป้าย 香林坊(アトリオ前) ใช้เวลา 10 นาทีแล้วเดินต่ออีก 5 นาที
※มีบัสโจกะมะจิ คานาซาวะชูยูว (城下まち金沢周遊バス)และชัทเทิลบัสโคะโรคุเอ็น (兼六園シャトル) ให้บริการ รวมถึง มะจิบัส (まちバス)ที่ให้บริการเฉพาะวันเสาร์และวันหยุดเท่านั้น
เว็บไซต์: ลิ๊กที่นี่
ถ้าชอบบทความนี้ กดถูกใจให้ด้วยนะ
บทความนี้เขียนขึ้นเมื่อ 22/06/2017 เรื่องโดย:กองบรรณาธิการ DiGJAPAN!
ความคิดเห็นล่าสุด | 0ความคิดเห็น
หากเป็นสมาชิก DiGJAPAN!
จะสามารถโพสต์คอมเม้นท์ได้
สมัครสมาชิก